บทความ

ค้างคาวกิตติ

รูปภาพ
  ค้างคาวกิตติ ชื่อสามัญ  :  ค้างคาวคุณกิตติ (ค้างคาวหน้าหมู) ชื่อวิทยาศาสตร์  : Craseonycteris thonglongyai Hill, 1974 วงศ์  : CRASEONYCTERIDAE ค้นพบ             ค้างคาวคุณกิตติค้นพบครั้งแรกปี พ.ศ. 2516 โดยนายกิตติ ทองลงยา นักสัตววิทยาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ค้างคาวชนิดนี้จำกัดอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรีในแถบลุ่มน้ำของแม่น้ำแควน้อย ในอุทยานแห่งชาติไทรโยค พบการกระจายตัวของค้างคาวมากที่สุด ลักษณะทั่วไป             ค้างคาวคุณกิตติลำตัวยาวประมาณ 29-33 มม. หนักประมาณ 2 กรัม   จึงเป็นที่มาของชื่อ " bumblebee bat ( ค้างคาวผึ้ง )" ค้างคาวคุณกิตติเป็นค้างคาวที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกและเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เล็กที่สุดในโลกด้วยเช่นกัน โดยมีคู่แข่งคือหนูผี   โดยเฉพาะในหนูผีจิ๋ว  (Suncus etruscus) ซึ่งมีน้ำหนัก 1.2-2.7 กรัม แต่มีความยาว 36-53 มม.จากหัวถึงหาง ค้างคาวคุณกิตติมีจมูกใหญ่เป็นพิเศษ คล้ายจมูกหมู   มีรูจมูกตั้งตรง แคบ   มีหูใหญ่เมื่อเทียบกับส่วนหัว ขณะที่ตามีขนาดเล็ก โดยมากถูกปกคลุมด้วยขนอ่อน   มีฟันเหมือนกับค้างคาวกินแมลงทั่วไป   ม

คอดคอด

รูปภาพ
คอดคอด   แมวพันธุ์คอดคอด   เป็นแมวป่าที่เล็กที่สุดในอเมริกา และเป็นหนึ่งในแมวที่เล็กที่สุดในโลกมีขนาดคล้ายกับแมวอุ้งมือดำและแมวสีสนิม ความยาวลำตัว 50 เซนติเมตร น้ำหนักเพียง 2.2 กิโลกรัม ซึ่งมีพื้นที่กระจายข้อต่อ แต่ตัวเล็กกว่าหัวเล็กกว่าและเรียวเล็กนักวิทยาศาสตร์บางคนพิจารณาว่า   แมวพันธุ์คอดคอด   นั้นเป็นสายพันธุ์ย่อยของแมว Schofield ชาวบ้านเรียก Guigna ซึ่งแปลว่าแมวภูเขาและคำว่า codcot อาจมาจากภาษาอินเดีย บางคนสันนิษฐานว่าชื่อนี้เคยถูกใช้เพื่ออ้างถึงแมว Pampas มาก่อน ชื่อของแมว Pampas คือ colocolo ซึ่งอาจมาจากคำว่า Cod ลักษณะทั่วไป              คอดคอดเป็นแมวป่าที่ตัวเล็กที่สุดในทวีปอเมริกา และเป็นแมวที่เล็กที่สุดชนิดหนึ่งของโลก มีขนาดใกล้เคียงกับแมวตีนดำและแมวจุดสีสนิม ความยาวลำตัว 50 เซนติเมตร หนักเพียง 2.2 กิโลกรัม ลักษณะทั่วไปคล้ายแมวชอฟรัว ซึ่งมีเขตกระจายพันธุ์ร่วมกัน แต่ตัวเล็กกว่า หัวเล็กกว่า และหางฟูกว่า นักวิทยาศาสตร์บางคนจัดว่าคอดคอดเป็นเพียงชนิดย่อยหนึ่งของแมวชอฟรัวเท่านั้น คนท้องถิ่นเรียกว่า กวีนยา ( Guigna) ซึ่งมีความหมายว่า แมวภูเขา ส่วนคำว่า คอดคอดอาจมาจากภาษาอินเดี

เสือดาวหิมะ

รูปภาพ
  เสือดาวหิมะ ลักษณะทั่วไป              เสือดาวหิมะมีขนยาวหนาแน่น สีพื้นเทาอมเหลือง บริเวณสีข้างจะอมเหลืองจาง ๆ มีลายดอกเข้มทั่วตัวคล้ายเสือดาว ช่วยให้ดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยซึ่งเป็นภูเขาหินและหิมะปกคลุม ลายดอกบริเวณหลังและสีข้างมีขนาดใหญ่ ส่วนบริเวณหัวและขาเป็นลายจุดขนาดเล็ก บริเวณคาง อก และท้องเป็นสีขาวปลอดไม่มีลาย ลายบริเวณหลังและสีข้างจะจางกว่าบริเวณอื่นซึ่งต่างจากเสือลายจุดชนิดอื่นที่มักมีลายที่หลังเข้มกว่า หางด้านบนจะเป็นวงสีดำ ด้านล่างของหางเป็นจุดจาง ๆ เปรียบเทียบลายดอกของเสือดาวหิมะกับของเสือดาวแล้ว ดอกของเสือดาวหิมจะห่างกันมากกว่า และไม่คมชัดเท่า              ขนเสือดาวหิมะยาวและฟูมากเพราะอาศัยอยู่ในพื้นที่หนาวเย็น ขนบริเวณหลังยาวประมาณ 1 นิ้ว ส่วนบริเวณท้องยาวถึง 12 เซนติเมตร ขนบริเวณหางยาวได้ถึง 2 นิ้ว หางจึงฟูมาก บางครั้งเอามาพาดตัวช่วยให้ความอบอุ่นตอนหลับได้ด้วย ส่วนขนชั้นในก็หนาแน่น ผลัดขนปีละสองครั้ง ขนในฤดูร้อนต่างจากขนในฤดูหนาว              ลำตัวเสือดาวหิมะยาว 90-135 เซนติเมตร หางยาวถึง 90 เซนติเมตรและมีขนฟู ช่วยสร้างความสมดุลเวลากระโจนไปตามโขดหิน ขาค่อนข

ปลาไน

รูปภาพ
  ปลาไน ประวัติความเป็นมา             มีหลักฐานปรากฎว่า ปลาชนิดแรกที่มนุษย์นำมาเลี้ยง และต่อมาก็ได้นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายเกือบทุกประเทศในโลกนั้น คือ "ปลาไน" โดยชนชาติจีนเป็นผู้ริเริ่มนำปลาชนิดนี้มาเลี้ยงก่อนชาติอื่น ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 68 หรือก่อนคริสต์ศักราช 475 ปี             สำหรับในประเทศไทย ชาวจีนได้นำปลาชนิดนี้ เข้ามาเลี้ยงเมื่อประมาณ 70 กว่าปีล่วงมาแล้ว ระยะเวลาดังกล่าวนั้น ประชาชนส่วนใหญ่มักรู้จักปลาชนิดนี้แต่เพียงผิวเผินและเรียกกันว่า "ปลาจีน" แต่พี่น้องชาวไทยทางแคว้นสิบสองจุไทย นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้มาก่อนโดยเรียกชื่อปลาชนิดนี้ว่า "ปลาไน" ชื่อภาษาจีนเรียก "หลีฮื้อ" หรือ "หลีโกว" ในแถบภาคพื้นยุโรปและอเมริกา เรียกกันว่า "คอมมอนคาร์พ" ( Common carp)   รูปร่างลักษณะและนิสัย             ปลาไนเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในจำพวกปลาตะเพียน มีร่างกายแข็งแรงและรูปลักษณะคล้ายปลาตะเพียน ปากเล็ก ไม่มีฟัน ริมฝีปากหนาและมีหนวดสี่เส้น ครีบหลังเป็นครีบเดี่ยวยาวติดกันเป็นพืด สีของลำตัวจะมีน้ำหนักเป็นสีเงินปนเทา บางทีก็เหลืองอ่อน หรือ

นกกระเต็นลาย

รูปภาพ
  นกกระเต็นลาย Banded Kingfisher Lacedo pulchella (Horsfield) 1821             เป็นที่รู้กันว่า นกกระเต็น kingfishers คือนกที่กินปลาเป็นอาหารหลัก จะงอยปากที่ใหญ่+ยาวไม่สมส่วนนั้น วิวัฒนาการมาให้เหมาะสำหรับพุ่งลงไปจับปลาในน้ำ เราจึงมักพบพวกมันหากินใกล้แหล่งน้ำ แต่ก็มีนกกระเต็นหลายชนิดที่จับสัตว์อื่นกินมากกว่าปลาเสียอีก บางชนิดไม่กินปลาเลยด้วยซ้ำ พวกที่ไม่ค่อยกินปลาถูกเรียกรวมๆ ว่า tree kingfishers ซึ่งจริง ๆ แล้วกว่าครึ่งหนึ่งของชนิดนกกระเต็นทั้งหมดถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ (อีกสองกลุ่ม คือ river kingfishers หรือนกกระเต็นน้อย และ water kingfishers ซึ่งเป็นกลุ่มของนกกระเต็นปักหลัก)             ด้วยความที่นกกระเต็นมีสายวิวัฒนาการแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ชัดเจนตามที่ได้กล่าวไป บางครั้งนักอนุกรมวิธานจึงแยกพวกมันออกเป็น 3 วงศ์ families พวก tree kingfishers มีขนาดตัวตั้งแต่ปานกลางไปจนถึงใหญ่มาก นกกระเต็นใหญ่ทั้งสองชนิด (ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย) ชอบจับปลากิน แต่สัดส่วนอาหารที่เป็นปลาก็ค่อยๆ ลดลงตามลำดับในนกกระเต็นหัวดำ นกกระเต็นอกขาว นกกระเต็นแดง นกกินเปี้ยว จนถึงชนิดที่มักจับสัตว์เลื้อยคลานตามพื้

นกกระแตแต้แว้ด

รูปภาพ
นกกระแตแต้แว้ด   นกกระแตแต้แว้ด  Vanellus indicus (red-wattled lapwing) หรือ นกต้อยตีวิด   หรือ   นกกระต้อยตีวิด มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 32-35 เซ็นติเมตร รูปร่างอ้วนป้อม มีขนคลุมร่างกายตอนบนสีออกน้ำตาลเหลือบเขียวและบริเวณหัวปีกน้ำตาลเหลือบม่วงปลายปีกดำ ปีกยาวจนเกือบคลุมหางซึ่งมีสีดำ ปลายหางเป็นสีน้ำตาลอ่อนและขาว คอสั้น หัวค่อนข้างโต ขนคลุมจากหัวถึงอกเป็นสีดำสนิท หนังรอบตา เหนียงเหนือหัวตาและปากสีแดงสดปลายปากสีดำ ขนคลุมหูสีขาว รอบคอด้านหลัง อกและท้องเป็นสีขาว ขายาวสีเหลือง นิ้วเท้ายื่นไปข้างหน้า 3 นิ้ว มีแผ่นพังผืดตอนโคนนิ้วเล็กน้อย นิ้วเท้าหลังสั้นมากและอยู่สูงกว่านิ้วอื่น จึงใช้เกาะกิ่งไม้ไม่ได้ ต้องยืน เดินและวิ่งบนพื้นเท่านั้น นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน ลักษณะ             นกต้อยตีวิดเป็นนกขายาว ลุยน้ำ ยาวประมาณ 35 ซม. ตัวขนาดนกเขาใหญ่ ปีกและหลังมีสีน้ำตาลอ่อนมีแววสีม่วง ๆ แต่หัว อก และคอหรือด้านหน้าคอ เป็นสีดำ มีแถบสีขาว ๆ ที่เห็นชัดเจนในระหว่าง ๆ ตั้งแต่ท้องไปจนถึงหาง บางพันธุ์จะขึ้นไปข้าง ๆ คอจนเกือบถึงยอด รวมทั้งบริเวณหู ปีกยาวจนเกือบคลุมหาง หางสั้นมีสีดำ สุดด้วยส

แมวดาว

รูปภาพ
  แมวดาว ชื่อทั่วไป แมวดาว ชื่อท้องถิ่น - ชื่อสามัญ Leopard Cat ชื่อวิทยาศาสตร์ Prionailurus bengalensis (Kerr)1792 แมวดาว  ( อังกฤษ : leopard cat;  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prionailurus bengalensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือ   แมวดาว เป็นแมวป่าที่พบได้ง่ายที่สุดในเมืองไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีขนาดเล็กใกล้เคียงแมวบ้าน แต่ขายาวกว่าเล็กน้อย มีลายจุดทั่วทั้งตัว สีลำตัวต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ มีตั้งแต่สีเทาซีด น้ำตาล เหลืองทอง จนถึงสีแดง ด้านใต้ลำตัวสีขาว จุดข้างลำตัวเป็นจุดทึบหรือเป็นดอก ส่วนบริเวณขาและหางเป็นจุดทึบ มีเส้นดำหลายเส้นพาดขนานกันตั้งแต่หน้าผากจนถึงท้ายทอยและเริ่มขาดท่อนกลายเป็นจุดรี ๆ ที่บริเวณหัวไหล่ บางตัวมีเส้นยาวนี้พาดยาวตลอดแนวสันหลัง มีแถบสีขาว 2 แถบและแถบดำ 4 แถบพาดจากหัวตาไปที่หู ขนมีความยาวต่างกันตามเขตที่อยู่ พันธุ์ที่อาศัยอยู่ทางเหนือจะมีขนยาวและแน่นกว่าพันธุ์ที่อยู่ทางใต้ หัวค่อนข้างเล็ก กรวยปากแคบและสั้น คางสีขาว มีแต้มสีขาวที่มีแถบสีดำแคบ ๆ